การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่งของนักสังคมศาสตร์เป็นการสนทนาระหว่างนักวิจัยกับผู้ให้ข้อมูล (information) เพื่อวัตถุสงค์ของการเก็บข้อมูล
วิธีการสัมภาษณ์ที่นำมาใช้กันมากที่สุดในการวิจัยเชิงสำรวจ คือ รูปแบบการสัมภาษณ์ หรือตารางการสัมภาษณ์ (Interview schedule) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างโดยใช้รูปแบบของแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่นักวิจัยได้กำหนดหัวข้อปัญหาไว้เรียบร้อยแล้ว นักวิจัยหรือพนักงานสัมภาษณ์ ถามนำในปัญหา แล้วบันทึกคำตอบผู้ถูกสัมภาษณ์ออกมา ลงในตารางการสัมภาษณ์
รูปแบบของการสัมภาษณ์
1. การสัมภาษณ์ที่เป็นรูปแบบมาตรฐาน (The Schedule Standardized Interview, SSI)
เป็นรูปแบบการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างที่ดี ซึ่งคำพูดหรือกฎเกณฑ์ของคำถามทั้งหมด สามารถใช้ได้เหมือนกันกับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคน ดังนั้น นักวิจัยที่ใช้การสัมภาษณ์รูปแบบนี้จะต้องพัฒนาเครื่องมือให้มีความสามารถที่จะนำไปใช้กับผู้ถูกสัมภาษณ์ได้และเมื่อมีความแปรผันเกิดขึ้น ระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์ แสดงว่าเป็นลักษณะของการแสดงออกไม่ใช่ เป็นลักษณะของการแสดงออกไม่ใช่เป็นเพราะสาเหตุมาจากเครื่องมือนี้เกี่ยวกับการใช้รูปแบบการสัมภาษณ์ประเภทนี้ มีข้อตกลงเบื้องต้น 4 ข้อ คือ
1.1 เชื่อว่าผู้ถูกสัมภาษณ์มีความสามารถในการเข้าใจคำที่ใช้ร่วมกันได้อย่างเพียงพอ ซึ่งถ้าตั้งปัญหาผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนสามารถเข้าใจปัญหาเดียวกันได้ หรืออาจพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนที่ได้รับสิ่งกระตุ้นที่เหมือนกันจะเข้าใจขอบเขตของความหมายได้เหมือนๆ กัน
1.2 ข้อตกลงที่ว่า มีความเป็นไปได้ที่จะใช้รูปแบบของคำพูด เพื่อใช้เป็นคำถามให้เข้าใจได้เท่ากันแก่ผู้สัมภาษณ์ทุกคนแต่ข้อตกลงที่เกี่ยวกับการสัมภาษณ์เป็นรูปแบบมาตรฐานประเภทนี้นั้น ประชากรที่มีลักษะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous population) ถ้าในกลุ่มประชากรนั้นมีภาษาที่แตกต่างกันมากมีค่านิยมร่วมกันน้อย และมีความกลัวที่จะพูดกับคนแปลกหน้าอย่างมากในการสัมภาษณ์ที่ใช้รูปแบบมาตรฐานนี้ ไม่สามารถที่จะนำไปใช้ได้เพราะคำตอบที่ได้ออกมาจะมีความเป็นมาตรฐานน้อยมาก ผู้ที่ประสบกับสถานการณ์นี้จะต้องสร้างวิธีการสัมภาษณ์แบบใหม่ขึ้นมาดึงนั้นข้อจำกัดของรูปแบบการสัมภาษณ์ประเภทนี้ ใช้ได้เฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน และใช้ได้เพียงกลุ่มตัวอย่างที่เป็นชนชั้นกลางเท่านั้น
1.3 เชื่อว่าผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนมีความเข้าใจความหมายของแต่ละคำถามได้เหมือนกัน ดังนั้นเนื้อหารายละเอียดที่จะสัมภาษณ์ในแต่ละคนก็ใช้รูปแบบเรียงลำดับที่เหมือนกัน ซึ่งเงื่อนไขของการใช้คำนวณจะต้องให้เหมาะสมกับความสนใจ และอารมณ์ของผู้ถูกสัมภาษณ์เกณฑ์ที่นิยมใช้กันคือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของผู้ถูกสัมภาษณ์มากที่สุดไว้เป็นอันดับแรก จนถึผู้ที่มีความสนใจน้อยเรียงลำดับต่อกันมาส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับความรู้สึก ควรวางไว้ตอนหลังก่อนจะจบการสัมภาษณ์โดยเฉพาะคำถามที่เป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกมากที่สุดจะต้องจัดให้เป็นคำถามสุดท้าย
1.4 จะต้องมีการนำรูปแบบของคำถามไปทดลองศึกษาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และทดสอบก่อนที่จะนำไปใช้จริงเพื่อเป็นตัวช่วยในการทำตามข้อตกลงในข้อความข้างต้นที่กล่าวมาก่อน โดยในการทดสอบนั้น นักวิจัยจะต้องเลือกกลุ่มบุคคลที่เปรียบเทียบได้ กับกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการสัมภาษณ์จริงๆ โดยที่คนกลุ่มนี้จะใช้ทดสอบเฉพาะรูปแบบ การสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นมาเท่านั้น
จากข้อตกลงเบื้องต้นทั้ง 4 ข้อ ของวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้รูปแบบนี้จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่นักวิจัยทำได้ยากมากในการที่จะทดสอบให้มีความเชื่อถือได้ เพราะโอกาสที่จะได้ค้นพบเงื่อนไขเชิงประจักษ์ที่ต้องการมีน้อยมาก และการที่จะชี้แนะถึงลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์อาจจะยากที่จะทราบได้ล่วงหน้าอย่างถูกต้องแต่ถ้าเราทราบว่ากลุ่มตัวอย่างที่จะมาสัมภาษณ์มีลักษณะและประสบการณ์ที่เหมือนๆ กัน แล้วการใช้เหตุผลสนับสนุนข้อตกลงดังกล่าวก็ทำได้ง่าย
2. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Schedule Interview, USI)
เป็นการสัมภาษณ์ที่กำหนดข้อมูลที่ต้องการจากผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคน มีลักษณะใกล้เคียงกับการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเรื่อง (focused interview) ซึ่ง Merton กับ Kendall นำมาใช้ในเงื่อนไขที่ใช้ ถึงแม้ว่าเราต้องการข้อมูลต่างๆ จากผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกๆ คนแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องมีคำถามเฉพาะแก่ผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ละคนอีกด้วย เพื่อการปรับปรุงให้เหมาะสม และหารายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมอีก จึงต้องใช้พนักงานสัมภาษณ์ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วเป็นอย่างดี ต้องมีความเข้าใจในความหมายของข้อมูลที่ต้องการ และต้องมีทักษะในการสร้างคำถามขึ้นมาสำหรับสัมภาษณ์บุคคลแต่ละคนข้อตกลงเบื้องต้นของการสัมภาษณ์รูปแบบนี้มี 3 อย่าง คือ
2.1 เชื่อว่าบุคคลแต่ละคนจะมีแนวทางของตนเองโดนเฉพาะในการให้ความหมายโลกทัศน์ของเขา ดังนั้น เพื่อที่จะเข้าใจความหมายมากขึ้น นักวิจัยจะต้องใช้กี่วิธีการศึกษาจากความคิดเห็นของผู้ถูกสัมภาษณ์
2.2 เชื่อว่าการกำหนดลำดับขั้นตอนของปัญหาไว้แน่นอนแล้วไม่อาจสร้างความพอใจในการตอบปัญหาของผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ทุกคน ดังนั้นเพื่อที่จะให้การสัมภาษณ์มีประสิทธิภาพได้มากที่สุดควรเรียงลำดับขั้นตอนหัวข้อของการสัมภาษณ์โดยดูจากความพร้อม และความเต็มใจของผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วย
3. การสัมภาษณ์ที่ไม่มีแบบมาตรฐาน (The Nonstandardized Interview or Unstructured Interview, UI)
เป็นการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้มีการกำหนดกลุ่มหรือชุดของคำถามและเรียงลำดับที่จะใช้สัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้า ไม่มีรายการสัมภาษณ์เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สัมภาษณ์ได้สอบถามปัญหาได้อย่างอิสระ และกว้างขวางในการสร้างปัญหา และทดสอบสมมติฐานเฉพาะอย่างในระหว่างการสัมภาษณ์ได้โดยมีข้อตกลง และหลักความเป็นเหตุผลเช่นเดียวกับการสัมภาษณ์ที่ใช้รายการแบบไม่มีโครงสร้าง คือใช้กลุ่มคำถามอันเดียวกันกับผู้ถูกสัมภาษณ์แต่ไม่มีการสร้างรูปแบบ และกรอบของการสัมภาษณ์ขึ้นมาเท่านั้นแบบสัมภาษณ์นี้อาจเรียกชื่ออีกอย่างได้ว่า การสัมภาษณ์ที่ไม่มีทิศทางแน่นอน (Nondirective Interview) นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการสัมภาษณ์อีก 2 แบบที่นิยมใช้กันอยู่โดยทั่วไป คือ
3.1 แนวการสัมภาษณ์ (Interview guide) เป็นการกำหนดหัวข้อขึ้นมาใช้ในการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเพื่อเป็นแนวทาง และสร้างความแน่นอนที่จะให้ครอบคลุมปัญหาที่สำคัญๆ ที่นักวิจัยต้องการหัวข้อการสัมภาษณ์มีความแตกต่างจากตารางการสัมภาษณ์ตรงที่ว่าในหัวข้อการสัมภาษณ์ไม่มีการกำหนดคำถามไว้ตายตัวแต่จะมีหัวข้อการสัมภาษณ์ที่กว้างซึ่งจะมีความยืดหยุ่นและไม่เป็นทางการในการสัมภาษณ์ระหว่างผู้ถูกสัมภาษณ์กับนักสัมภาษณ์กับนักสัมภาษณ์ซึ่งจัดได้ว่ามีลักษณะคล้ายหรือเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการสัมภาษณ์ประเภทที่ 3 ข้างต้น
3.2 การสัมภาษณ์เฉพาะเรื่อง (Focused interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่เน้นหนักเฉพาะเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ต้องการข้อมูลจากผู้ถูกสัมภาษณ์โดยทั่วไป นิยมใช้กับบุคคลที่มีหรือได้รับประสบการณ์ร่วมกัน เช่น การได้อ่านใบปลิวโฆษณา ชวนเชื่อที่เหมือนกัน ได้ดูภาพยนต์เรื่องเดียวกัน หรือมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน